บทความ

วีซ่าทำงาน (Work Visa)

วีซ่าทำงาน (Work Visa)

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงวีซ่าทำงานกันบ้างนะครับ วีซ่าทำงาน หรือ Work Visa หรือ Non-B Visa หรือวีซ่าทำงาน 1 ปี ซึ่งการยื่นขอวีซ่าประเภทนี้จะเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องกับ ใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit นะครับ ซึงผมได้เขียนไปแล้วลองไปหาอ่านดูนะครับ

ในการยื่นขอวีซ่าทำงาน 1 ปี หรือ Non-B Visa นั้นเราจะทำการยื่นขอหลังจากที่เราได้ใบอนุญาตทำงานแล้ว หลังจากนั้นชาวต่างชาติจะต้องทำการยื่นเอกสารเพื่อขออยู่ต่อไปในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป เป็นระยะเวลา 1 ปี หรือที่เรียกกันว่า วีซ่า 1 ปี หรือ One year Visa ซึ้งสามารถยื่นขอได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง

ในการขอต่ออายุวีซ่า 1 ปีนั้น ในครั้งแรกเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยก่อนเป็นเวลา 30 วัน ทั้งนี้ เพื่อทำการพิจารณาว่าจะทำการอนุมัติหรือไม่อนุมัติ เมื่อพิจารณาแล้วเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปี แต่ถ้าหากผลการพิจารณายังไม่เสร็จก็จะอนุญาตให้อยู่ต่ออีก 30 วัน จนกว่าจะมีผลการพิจารณาว่าอนุมัติหรือไม่

สำหรับชาวต่างชาติที่ได้รับการอนุญาตให้อยู่ได้ 1 ปี และชาวต่างชาตินั้นๆได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน ชาวต่างชาตินั้น จะต้องยื่นแบบรายงานตัว ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ ในกรณีที่ชาวต่างชาตินั้นๆต้องการที่จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรไทย ชาวต่างชาตินั้นๆจะต้องทำ Re –Entry ด้วย ไม่เช่นนั้นแล้ว วีซ่าของชาวต่างชาตินั้นๆจะกลับไปเป็นวีซ่า ท่องเที่ยว (Tourist Visa) หรือ วีซ่าคนเดินผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa) แทน

 

วีซ่านักเรียน (ED Visa)

วีซ่านักเรียน (ED Visa)

สวัสดีครัย วันนี้เราจะมาพูดถึงวีซ่านักเรียนกันครับ ที่จะพูดในที่นี้หมายถึง วีซ่านักเรียนที่เราจะขอให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาศึกษา อบรม หรือ ดูงาน ในประเทศไทยครับ ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เราจะเรียนว่า Education Visa หรือ ED Visa นั้นเอง

ED Visa นั้นจะอยู่ในกลุ่มประเภทคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-Immigrant Visa category B นั่นเองครับ

Education Visa หรือ ED Visa นั้นคืออะไร ?

Education Visa หรือ วีซ่านักเรียน นั้น คือวีซ่าที่ทำให้ชาวต่างชาติ ที่เข้ามาศึกษา ดูงาน หรือฝึกอบรม สามารถพำนักในราชอาณาจักรไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นระยะเวลา 4 เดือน หรือ 6 เดือน เพื่อทำการศึกษา ดูงาน หรือฝึกอบรม

ซึ่งชาวต่างชาติที่ต้องการจะเข้ามาศึกษาในราชอาณาจักรไทย สามารถทำเรื่องขอวีซ่า ได้จากสถาบันสอนภาษาที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีที่ต้องการเข้ามาเรียนในไทย เนื่องจากสถาบันส่วนใหญ่ที่จะเปิดสอนภาษาให้กับชาวต่างชาติจะต้องได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการถึงหลักสูตรในการสอน หากชาวต่างชาติต้องการเรียนภาษาและพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย สามารถติดต่อสถาบันสอนภาษาที่เปิดอยู่เพื่อติดต่อขอเป็นนักศึกษาและขอวีซ่านักเรียนในเวลาเดียวกัน

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1.ชาวต่างชาตินั้นจะได้รับวีซ่า ประเภท ED Visa หรือมีตราประทับ Non-Immigrant ED ในพาสปอตร์เรียบร้อยแล้ว
2.จะต้องได้รับการรับรอง และ ขอให้อยู่ศึกษาต่อ จากสถาบันศึกษานั้น ซึงทางสถาบันนั้นๆ จะเป็นผู้ออกเอกสารให้

วีซ่าคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

วีซ่าคนอยู่ชั่วคราว

ครับเราจะมาต่อกันในเรื่องของ วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-Immigrant Visa กันครับ

  1. การตรวจลงตรานั้น จะออกให้แกชาวต่างชาติที่เข้ามาในราชอาณาจักรจุดประสงค์ดังต่อไปนี้

– การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (ใช้รหัส F)

– การติดต่อหรือ ประกอบธุรกิจ และการทำงาน (ใช้รหัส B)

– การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (ใช้รหัส IM)

– การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ใช้รหัส IB)

– การศึกษา ดูงาน และ ฝึกอบรมต่างๆ (ใช้รหัส ED)

– การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (ใช้รหัส M)

– การเผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมสาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (ใช้รหัส R)

– การค้าคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร         (ใช้รหัส RS )

– การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (ใช้รหัส EX)

– การอื่นๆ

1). การเข้ามาใช้ชีวิตบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ (ใช้รหัส O)

2). การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี (ใช้รหัส O)

3). การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างชาติ ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตกงสุล หรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็น บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว (ใช้รหัส O)

4). การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกัน กับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์กร หรือ ทบวงการระหว่างประเทศ (ใช้รหัส O)

5).การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว (ใช้ รหัส O)

6). การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การกุศลสาธารณะ (ใช้รหัส O)

7). การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร (ใช้รหัส O)

8). การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล (ใช้รหัส O)

9). การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ (ใช้รหัส O)

  1. อายุวีซ่า

– 3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว (Single Entry)

– 1 ปีสำหรับ สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (Multiple Entries)

3.ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (Single Entry) และ 5,000 บาท (Multiple Entries)

  1. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

5.จำนวนเงินที่ต้องมีคือ ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท หรือ ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

6.เอกสารที่ต้องใช้คือ

– หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน

– แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกครบถ้วนแล้ว

-รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป

เอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์

กรณีเข้ามาในฐานะเป็นบุคคลในครัวเรือนหรือในความอุปการะ (รหัส O)

– หลักฐานการเป็นบิดา มารดา บุตร /สูติบัตร / ใบสำคัญการสมรส

– หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานที่ยังมีอายุใช้งาน ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทย

-หลักฐานแสดงว่าคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทย หรือเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หลักฐาน

– หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ

กรณีเข้ามาเพื่อรับการรักษาพยาบาล (รหัส O)

– หนังสือตอบรับจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย

กรณีคู่ความหรือพยานในศาล (รหัส O)

– หนังสือหรือหมายจากศาลของไทย

กรณีเข้ามาเพื่อใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุ (รหัส O)

– ผู้นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยระบุวัตถุประสงค์ว่าจะขอเข้ามาใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุ หรือ เกษียน และจะไม่ทำงานในระหว่างพำนักในไทย

– หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือหลักฐานการได้รับเงินบำนาญ (ต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 200,000 บาท หรือมีรายได้ หรือ บำนาญ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท)

*หมายเหตุ*

– เมื่อคนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 90 วัน การขยายระยะเวลาพำนัก จะต้องติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

– หากเป็นการขอขยายระยะเวลาพำนักระยะยาว คือ 1 ปี สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาโดยหลักเกณฑ์การเข้าเมืองของคนต่างชาติซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่อเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรคราวละไม่เกิน 1 ปี รหัส O-A โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าผู้ร้องต้องมีหลักทรัพย์เป็นเงินฝาก 800,000 บาท หรือ รายได้ หรือ บำนาญ เดือนละ 65,000 บาท หรือ มีเงินฝากและรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท

 

 

วีซ่านักท่องเที่ยว

วีซ่านักท่องเที่ยว

วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว หรือ ก็คือ Tourist Visa

  1. การตรวจลงตราประเภทนี้ จะออกให้แก่ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ (ใช้รหัส TR)
  2. อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  3. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาทต่อครั้ง
  4. ระยะเวลาที่ให้อยู่ในราชอาณาจักร ครั้งละ 60 วัน
  5. จำนวนที่ควรจะต้องมีติดตัวคือไม่น้อยกว่า 20,000 บาท หรือ ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
  6. เอกสารที่ใช้

– หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน

– แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว

-รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป

– หลังฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว

-เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีเดินทางมากับบริษัททัวว์)

-ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

 

 

Transit Visa

Transit Visa

วันนี้เราจะอธิบายรายละเอียดในการขอ วีซ่าประเภท เดินทางผ่านราชอาณาจักร ( Transit Visa)กันนะครับ

  1. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักรนั้น จะออกให้แก่ชาวต่างชาติเพื่อการใดๆ ดังต่อไปนี้

-เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร (ใช้รหัส TS)

-เพื่อเล่นกีฬา (ใช้รหัส S)

-เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายัง ท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (ใช้รหัส C)

  1. อายุของวีซ่าที่ออกให้คือ 3 เดือน
  2. ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
  3. ค่าธรรมเนียม 800 บาท ต่อครั้ง
  4. จำนวนเงินขั้นต่ำที่ควรมีติดตัวประมาณ 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
  5. เอกสารที่ต้องใช้

– หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน

– แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว

-รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป

-บัตรโดยสารเครื่องบิน ไปและกลับ หรือที่จะเดินทางไปประเทศที่ 3

-วีซ่าของประเทศที่ 3ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง (กรณีวีซ่ารหัส TS)

-หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา (กรณีวีซ่ารหัส S)

– หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (กรณีวีซ่ารหัส C)

-ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

 

 

ต่อใบอนุญาตทำงาน

ต่อใบอนุญาตทำงาน

ในการ ต่อใบอนุญาตทำงาน นั้น

ชาวต่างชาติจะต้องยื่นเรื่องขอ ต่อใบอนุญาตทำงาน ก่อนที่ใบอนุญาตเดิมจะหมดอายุ เมื่อคนต่างชาติได้ขอยื่น ต่อใบอนุญาตทำงาน ภายในกำหนดเวลาแล้ว ก็สามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาว่าจะต่อใบอนุญาตให้หรือไม่อนุญาต การ ต่อใบอนุญาตทำงาน นั้นจะได้รับการพิจาณาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี ในกรณีคนต่างชาติยังคงทำงานในขณะเมื่อใบอนุญาตหมดอายุแล้ว โดยไม่ได้ยื่นคำขอ ต่อใบอนุญาตทำงาน ก่อนใบอนุญาตเดิมหมดอายุหรือยื่นคำขอแล้วแต่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ ต่อใบอนุญาตทำงาน และมิได้อุทธรณ์หรืออุทธรณ์แล้วแต่รัฐมนตรีมีคำสั่งวินิจฉัยไม่อนุญาต มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เอกสารใน การขอไทยวีซ่า

เอกสารในการขอไทยวีซ่า

เอกสารใน การขอไทยวีซ่า ประเภทต่างๆ จากบทความที่แล้วเราได้รู้ถึงประเภทต่างๆของ การขอไทยวีซ่า ไปแล้ว คราวนี้เราจะมาอธิบาย เอกสารใน การขอไทยวีซ่า ของแต่ละประเภทกันเลยครับ

การขอไทยวีซ่า ประเภท คนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)

  • เอกสารที่ต้องใช้ใน การขอไทยวีซ่า
  • หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
  • รูปถ่านขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาในระยะไม่เกิน 6 เดือน และไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
  • บัตรโดยสารเครื่องบิน ไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปประเทศที่ 3
  • วีซ่าของประเทศที่ 3 ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ในกรณีขอไทยวีซ่าประเภท เดินทางผ่านราชอาณาจักร
  • หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา ในกรณีขอไทยวีซ่าประเภท เพื่อเล่นกีฬา
  • หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือ ท้องที่ในราชอาณาจักร กรณี ขอไทยวีซ่าประเภท เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือ ท้องที่ในราชอาณาจักร
  • ทั้งมี อาจมีการขอเอกสารหรือสัมภาษณ์ ผู้ขอไทยวีซ่า เพิ่มเติมด้วย

การขอไทยวีซ่า ประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa)

  • เอกสารที่ต้องใช้ใน การขอไทยวีซ่า
  • หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
  • รูปถ่ายขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาในระยะไม่เกิน 6 เดือน และไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
  • หลักฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว
  • เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีเดินทางมากับบริษัททัวร์)
  • ทั้งมี อาจมีการขอเอกสารหรือสัมภาษณ์ ผู้ขอไทยวีซ่า เพิ่มเติมด้วย

การขอไทยวีซ่า ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (์Non-Immigrant Visa)

  • เอกสารที่ต้องใช้ใน การขอไทยวีซ่า
  • หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
  • รูปถ่านขนาด 2 นิ้วครึ่ง จำนวน 2 รูป (ถ่ายมาในระยะไม่เกิน 6 เดือน และไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
  • เอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางเช่น
  • 1. การขอไทยวีซ่า ที่การเข้ามาในฐานะของบุคคลในครัวเรื่อนหรือในความอุปการะ
  • หลักฐานที่ต้องใช้คือ
  • 1.1 หลักฐานการเป็นบิดา มารดา บุตร สูติบัตร ใบสำคัญการสมรส เป็นต้น
  • 1.2 หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานที่ยังมีอายุใช้งาน ของผู้ที่ทำงานในประเทศไทย
  • 1.3 หลักฐานแสดงว่าคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทย หรือ เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และ หลักฐานแสดงฐานะการเงิน
  • 1.4 หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี
  • 2. การขอไทยวีซ่า ที่เข้ามาเพื่อรับการรักษาพยาบาบ
  • 2.1 หนังสือตอบรับจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย
  • 3. การขอไทยวีซ่า ที่เข้ามาในฐานะ คู่ความหรือพยานในศาล
  • 3.1 หนังสือหรือหมายจากศาลของไทย
  • 4. การขอไทยวีซ่า เพื่อการใช้ชีวิตในฐานะผู้สูงอายุ
  • 4.1 ผู้ร้องต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจะต้องระบุวัตถุประสงค์ว่าจะเข้ามาในฐานะผู้สูงอายุหรือเกษียณ และจะไม่ทำงานในระหว่างพำนักในไทย
  • 4.2 หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินหรือหลักฐานการได้เงินบำนาญ
  • 5. การขอไทยวีซ่า ประเภทนักเรียน นักศึกษา
  • 5.1 หนังสือตอบรับจากสถานศึกษา
  • 5.2 หนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กรณีเป็นโรงเรียนเอกชน)
  • 6. การขอไทยวีซ่า ประเภท นักบวชที่จะเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา
  • 6.1หนังสืออนุญาตจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  • 7.การขอไทยวีซ่า ประเภท การปฎิบัติหน้าที่ราชการ การปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ การฝึกอบรมดูงาน
  • 7.1 หนังสือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานรัฐบาล ที่เกี่ยวข้อง
  • 8. การขอไทยวีซ่า ประเภทการทำงาน
  • 8.1 หนังสือจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งผลการพิจาณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานในบริษัทที่ขอได้ (ในการขอรับหนังสือกรมการจัดหางานดังกล่าว นายจ้างที่จะจ้างคนต่างด้าวต้องไปยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานหรือแบบ ตท.3 ณ กองงานคนต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือที่สำนักงานแรงงานจังหวัด)

 

 

 

การ รายงานตัว 90 วัน

รายงานตัว 90 วัน

การ รายงานตัว 90 วัน

ในกรณีที่ชาวต่างชาติต้องการพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 90 วันนั้น จำเป็นจะต้องแจ้งความประสงค์และแจ้งที่พักอาศัย ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุกๆ 90 วัน ซึ่งเราเรียกว่าการ รายงานตัว 90 วัน (Report 90 days) ซึ่งสามารถแจ้งล่วงหน้าได้ 7 วัน ก่อนครบกำหนด 90 วัน หรือ หลังจากครบกำหนดไปแล้ว 7 วัน

เอกสารประกอบการ รายงานตัว 90 วัน คือ

1.หนังสือเดินทางและสำเนาหน้าแรกและวีซ่าหน้าล่าสุด

2.แบบฟอร์มการแจ้งอยู่เกิน 90 วัน

ในกรณีที่ชาวต่างชาตินั้น อยู่เกิน 90 วัน โดยไม่แจ้งที่พักต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือแจ้งช้ากว่ากำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเองและเสียค่าปรับ 2,000 บาท หรือชาวต่างชาติถูกจับกุมไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม ต้องเสียค่าปรับ 4,000 บาท

 

การ ต่ออายุวีซ่า

ต่ออายุวีซ่า

สำหรับใครหลายๆคน ยังคงไม่ว่าเมื่อเราได้วีซ่าเข้ามาในประเทศหนึ่ง และเมื่อพำนักอยู่ประเทศนั้นจนครบกำหนดวีซ่าหรือวันที่อนุญาตให้อยู่ได้นั้นได้หมดลง เราสามารถ ต่ออายุวีซ่า (Visa Extension) ได้ ซึ่งเอกสารนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราขอ ต่ออายุวีซ่าประเภทไหน

สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเข้ามาด้วยจุดประสงค์อะไรก็ตาม หากต้องการจะพำนักอยู่ในประเทศไทยต่อ เมื่อวีซ่าหมดจำเป็นจะต้องทำการ ต่ออายุวีซ่า ซึ่งวีซ่าประเภทชั่วคราวนั้นจะมีเวลาให้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ 90 วัน หลังจากนั้นชาวต่างชาติจะต้องออกนอกประเทศ หรือขอ ต่ออายุวีซ่า เพื่อขยายเวลาพำนักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งในการยื่นขอ ต่ออายุวีซ่า ครั้งแรกนั้นจะสามารถอยู่พำนักได้เป็นเวลา 1 ปี หรือ 365 วัน และสามารถยื่นขอ ต่ออายุวีซ่า ครั้งต่อไปได้คราวละ 1 ปี อย่างนี้ต่อไปได้เรื่อยๆ โดยทั้งนี้ชาวต่างชาติจะต้องยื่นขอ ต่ออายุวีซ่า ก่อยวีซ่าเดิมหมดอายุอย่างน้อย 1 เดือน หรือ 30 วัน

เอกสารที่ชาวต่างชาติจะต้องเตรียมเพื่อยื่นในการ ต่ออายุวีซ่า มีดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้

กรณี นักศึกษา อาสาสมัคร นักวิจัย ชาวต่างชาติ (Non-Immigrant ED)

1.หนังสือขอขยายเวลาพำนักในประเทศ

2.หนังสือเดินทาง และสำเนาหน้าแรกและหน้าวีว่าล่าสุด

3.แบบฟอร์ม ตม.7

4.รูปถ่าย 1 รูป ( 4×6 ซม.)

5.ใบแสดงผลการเรียน (Transcript)

6.สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา

7.ค่าธรรมเนีนมการต่อวีซ่า 1,900 บาท

สำหรับลูกจ้างชาวต่างชาต (Non-Immigrant B)

1.หนังสือนำขอขยายเวลวพำนักในประเทศ

2.หนังสือเดินทาง และสำเนาหน้าแรกและหน้าวีซ่าล่าสุด

3.แบบฟอร์ม ตม. 7

4.แบบฟอร์ม สตม.2

5.รูปถ่าย 1 รูป (4×6 ซม.)

6.สำเนาสัญญาจ้าง

7.ใบอนุญาตการทำงานและสำเนา

8.ค่าธรรมเนียมการต่อวีซ่า 1,900 บาท

กรณีที่ชาวต่างชาติพำนักในประเทศเกินวันหมดอายุของวีซ่า (Over stay) จะต้องเสียค่าปรับวันละ 500 บาท และ ปรับสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท

 

 

ขอไทยวีซ่า

ขอไทยวีซ่า

ขอวีซ่าไทย

วีซ่า (Visa) คือ ใบอนุญาตให้เข้าประเทศได้ ใช้ควบคู่กับหนังสือเดินทาง (passport) สามารถไปขอได้ที่สถานทูตของประเทศที่เราต้องการไป โดยเขาจะมีกำหนดเวลาเอาไว้ ว่าอยู่ได้เป็นเวลากี่วัน เมื่อครบกำหนดแล้วก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศหรือต่ออายุวีซ่าให้เรียบร้อย ไม่เช่นนั้นหากถูกจับได้ขึ้นมาละก็จะโดนส่งกลับประเทศทันทีพร้อมกับแบนชื่อไม่ให้เข้าประเทศได้อีกตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นกรณีไป แต่หากเป็นประเทศที่ทำข้อตกลงกันไว้ว่า ให้ประชาชนของประเทศนั้นประเทศนี้เดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าแล้วละก็ ขั้นตอนนี้ก็เป็นอันตัดไป

ระยะเวลาที่ชาวต่างชาติสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้นั้น แตกต่างกันไปตามชนิดของวีซ่า ดังนี้

  • หากเดินทางเข้าประเทศมาโดยไม่ได้ขอวีซ่าตามข้อตกลงระหว่างประเทศ สามารถพำนักได้ไม่เกิน 30 วัน
  • เดินทางด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว มีกำหนดเวลา 60 วัน สามารถต่ออายุได้
  • หากใช้วีซ่าประเภทเข้าอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) จะอยู่ได้ถึง 90 วัน

นอกจากนี้ยังมีวีซ่าชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ไม่ได้หยิบยกมาพูดถึง ผู้ที่สนใจขอวีซ่าไทยให้กับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. โดยตรงเป็นการดีที่สุด เพราะจะได้ทราบข้อมูลล่าสุดและหลักฐานประกอบการยื่นคำร้องที่ถูกต้อง

การยื่นเรื่องขอวีซ่านั้น จะให้ดีคือไปด้วยตัวเอง อย่าไปหลงเชื่อคำโฆษณาอวดอ้างของคนอื่นที่ว่าสามารถขอวีซ่าได้ทุกประเทศเพราะเสี่ยงกับการโดนหลอก เนื่องจากมีตัวอย่างของคนที่ไม่สามารถเข้าประเทศได้เพราะใช้วีซ่าปลอมมานักต่อนักแล้ว